บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2017

การศึกษาการจัดโครงการอบรมสัมมนาบุคลากรทดลองงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2557

_________________________________________________________________________________ การศึกษาการจัดโครงการอบรมสัมมนาบุคลากรทดลองงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2557 THE SEMINAR MANAGEMENT FOR PERSONNEL TRAINING  OF  MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY พระราชรัตนมงคล,ดร. (มนตรี อภิมนฺติโก,ยางธิสาร)* Phrarajratanamongkol,(Montri Aphimontiko,Yangthisan). Ed.D. (Adult Educatin) _________________________________________________________________________________ บทคัดย่อ        การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดโครงการอบรมสัมมนาบุคลากรทดลองงานของมหา วิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.2557 ใน 7 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิทยากร ด้านบรรยากาศ ด้านการดำเนินการจัดอบรมสัมมนา ด้านวัสดุอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวก ด้านระยะเวลา ด้านการประเมิน ตลอดจนรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมโครงการอบรมสัมมนา        กลุ่มตัวอย่างได้แก่บุคลากรทดลองงานของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยสายวิชาการ (T) จำนวน 41 รูป/คน และอธิการบดี 1 รูป รองอธิการบดี 2 คน รวมเป็นจำนวน 44 รูป/คน เครื่องมือในกา

พระราชรัตนมงคล,ดร. (มนตรี อภิมนฺติโก, ยางธิสาร) ผู้เริ่มโครงการพระสอนศีลธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก

คำกล่าวเปิดโครงการฝึกอบรมพระสอนศีลธรรม ณ โรงเรียนวิทยการจัดการเพชรเกษม วันศุกร์ ที่ 24 กันยายน 2553 โดยพระธรรมโกศาจารย์ ............... ท่านพระเถรานุเถระ และมีท่านเจ้าคุณ พระราชรัตนมงคล เป็นต้น เป็นประธาน ท่านผู้อำนวยการวิทยาการจัดการเพชรเกษม ดร. อรพรรณ สินประสงค์ พร้อมคณะผู้บริหาร  คณาจารย์แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน           ขออนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง ต่อการจัดกิจกรรมการอบรมครูพระสอนศีลธรรมในครั้งนี้  ซึ่งเป็นความดำริ ริเริ่มของท่านเจ้าคุณพระราชรัตนมงคล มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาหลักสูตร การฝึกอบรมครูพระสอนศีลธรรม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่สำคัญ เพราะว่าปัจจุบันนี้ เรามีพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณสนับสนุน ทั้งมหา วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัยมีจำนวนมากกว่า 24 , 000 รูป ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้มีความต้องการ การฝึกอบรมการพัฒนา เพราะเหตุที่ว่า บทบาทของครูพระสอนศีลธรรมนั้น เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น ที่ว่าสำคัญและจำเป็นเพราะว่า การศึกษาในปัจจุบันต้องการที่จะสร้างให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง  วิชาที่จัดการศึกษารายวิชาต่างๆ

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ

_________________________________________________________________________________ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ TRAINING CURRICULUM DEVELOPMENT FOR METHODOLOGY OF TEACHING MORALITY IN SECONDARY SCHOOL BY THE MONKS UNDER THE PROJECT OF MINISTRY OF EDUCATION พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร) _________________________________________________________________________________ บทคัดย่อ เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ กุมภาพันธ์ 2554 พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร). (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ เลวัลย์ พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย ศากยะ (ดร.) ดร.ยุภาดี ปณะราช. การวิจัยครั้งนี้มีควา

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาจากทัศนคติของพระสงฆ์ในพื้นที่ ต่อเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ.2547-2550

ชื่อวิทยานิพนธ์   การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาจากทัศนคติ ของพระสงฆ์ในพื้นที่ ต่อเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2547-2550 ผู้วิจัย  พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร) รหัสนักศึกษา 2488000320 ปริญญา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) อาจารย์ที่ปรึกษา (1) รองศาส ตรา จารย์วรรณธรรม  กาญจนสุวรรณ  (2) รองศาสตราจารย์ฐปนรรต    พรหมอินทร์ ปีการศึกษา 2553 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) มูลเหตุของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ผลกระทบของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (3) วิธีแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 พระสงฆ์ จำนวน 17 รูป โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 พระสงฆ์ จำนวน 228 รูป โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์โดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ

การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการสอนของศูนย์สอนภาษาเกาหลีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

  _________________________________________________________________________________ การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการสอนของศูนย์สอนภาษาเกาหลีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) THE OPINIONS OF LEARNERS FOR KOREAN TEACHING CENTRE IN REPUBLIC OF KOREA  พระราชรัตนมงคล, ดร. (มนตรี อภิมนฺติโก, ยางธิสาร)*  Phrarajratanamongkol,(Montri Aphimontiko,Yangthisan). Ed.D. (Adult Educatin) _________________________________________________________________________________ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการสอนของศูนย์สอนภาษาเกาหลีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี   (เกาหลีใต้) ใน 4 ด้าน คือ หลักสูตร การเรียนการสอน สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และการวัดผลและประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่พระสงฆ์ไทยที่วัดพุทธรังษีโซล (Watbuddharangsee Seoul) จำนวน 5 รูป และผู้เรียนภาษาเกาหลีในศูนย์สอนภาษาเกาหลีอีจูมินที่เมืองฮวาซองชิ จังหวัดเกียงกิโด ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) จำนวน 5 คน เมื่อพุทธศักราช 2557 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่การสัมภาษณ์ แบบไม่