การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาจากทัศนคติของพระสงฆ์ในพื้นที่ ต่อเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ.2547-2550
ชื่อวิทยานิพนธ์ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาจากทัศนคติของพระสงฆ์ในพื้นที่
ต่อเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ.2547-2550
ผู้วิจัย พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร) รหัสนักศึกษา 2488000320 ปริญญา
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) อาจารย์ที่ปรึกษา (1) รองศาสตรา จารย์วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ (2) รองศาสตราจารย์ฐปนรรต พรหมอินทร์
ปีการศึกษา 2553
ปีการศึกษา 2553
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
(1) มูลเหตุของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ผลกระทบของปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
(3) วิธีแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
โดย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่
1 พระสงฆ์ จำนวน 17 รูป โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่ 2 พระสงฆ์ จำนวน 228
รูป โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์โดย
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ
พบว่า (1) มูลเหตุของปัญหาความไม่สงบ คือ ความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่
ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
แต่ผู้ก่อการร้ายสร้างเงื่อนไขให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนไทยพุทธกับไทยมุสลิม
ในประเด็นความแตกต่างกันเกี่ยวกับ โครงสร้างประชากร ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การนับถือศาสนา
เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้าถึงประชาชน และคนถือสองสัญชาติ (2) ผลกระทบของปัญหาความไม่สงบ
คือ พระสงฆ์ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการทำนุบำรุงศาสนา การปฏิบัติศาสนพิธี การขาดธรรมทายาท
ความเป็นอยู่ และประชาชนได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเศรษฐกิจตกต่ำ
ดำเนินชีวิตไม่ได้ตามปกติ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ชุมชนแตกแยก
จัดงานประเพณีไม่ได้ (3) วิธีการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ คือ
ควรมีการปรับปรุงเกี่ยวกับการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจัดโครงสร้างบริหารราชการจากส่วนกลาง การรักษาปลอดภัย การจัดการศึกษา การเผยแผ่ศาสนา
และการยอมรับวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ทัศนคติของพระสงฆ์ในพื้นที่ที่มีต่อเหตุการณ์ความไม่สงบ
ค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนการทดสอบสมติฐานของการวิจัย
พบว่า พระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาแตกต่างกันมีทัศนคติต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05
คำสำคัญ การแก้ไขปัญหา
ความไม่สงบ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พระสงฆ์
Thesis title: Solving the Problem of Unrest
in the Three Southern Border Provinces: A Study of the Views of Buddhist Monks in the Area from 2004-2007
Researcher: Phra Rajratatanamongkol (Montri Yangthisarn); ID: 2488000320;
Degree: Master of Political Science (Politics and Government); Thesis
advisors: (1) Varnadharm Kanchanasuwon, Associate Professor; (2) Thapanat
Prom-in, Associate Professor; Academic year: 2010
Abstract
The objectives of this
research were to study (1) the reasons for the problem of unrest in the three
southern border provinces; (2) the impact of the problem; and (3) methods to
solve the problem.
This research utilized
both qualitative and quantitative methods. The sample population consisted of
two groups: one group of 17 Buddhist monks chosen through purposive sampling,
and one group of 228 Buddhist monks chosen through multi-level random sampling.
Data were collected using an interview form and a questionnaire and were
analyzed using descriptive analysis, percentage, mean, standard deviation and
f-test.
The results of the
qualitative portion of the research showed that (1) the major reasons for the
unrest in the three southern border provinces were conflicts among the citizens
that did not arise naturally but arose from conditions created by terrorists
that caused conflicts between Buddhist Thais and Muslim Thais. The conflicts
were about differences in the two groups’ demographic structure, local history,
religious practices, people with dual citizenship and government officials’
inability to serve all the people. (2) The impact of the unrest on Buddhist
monks was that they were not able to promote Buddhism as they normally would,
their ceremonies were affected, their way of life was affected, and they had
fewer supporters. The impact on other citizens was that the economy was bad,
they could not live life normally, they lacked security, their communities were
divided, and they were unable to follow all their normal traditions. (3) To
solve the problem of unrest, the local administrative organization should be
restructured, services from the central government should be restructured, more
security should be provided, better education should be provided, religions
should be allowed to teach their beliefs, and the people should accept and
respect others’ beliefs and ceremonies. The results of the quantitative portion
of the study showed that the average scores for Buddhist monks’ views on the
situation of unrest were high. The research hypothesis was supported that the
monks’ educational level was related to their view of the unrest, to a
statistically significant degree.
Keywords: Unrest, Problem Solving, Southern Border Province,
Buddhist Monk
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น