การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ

_________________________________________________________________________________

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ

TRAINING CURRICULUM DEVELOPMENT FOR METHODOLOGY OF TEACHING MORALITY IN SECONDARY SCHOOL BY THE MONKS UNDER THE PROJECT OF MINISTRY OF EDUCATION
พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร)
_________________________________________________________________________________

บทคัดย่อ


เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่
กุมภาพันธ์ 2554
พระราชรัตนมงคล (มนตรี ยางธิสาร). (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวนีย์ เลวัลย์ พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย ศากยะ (ดร.) ดร.ยุภาดี ปณะราช.

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2) เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 4) เพื่อติดตามผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม
ขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 4 ขั้นตอน 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 3) การประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม 4) การติดตามการใช้หลักสูตรฝึกอบรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) พระสอนศีลธรรมที่ปฏิบัติงานสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 129 รูป ปีการศึกษา 2552 ใช้ในการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน 2) พระสอนศีลธรรมที่เป็นอาสาสมัคร จำนวน 30 รูป ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า ที (t-test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า:

1. ผลการประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า มีความสอดคล้อง
อยู่ในระดับมากที่สุด (4.56) และดัชนีความเหมาะสมมากกว่า 0.5 ทุกข้อ
2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลังการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม
มีคะแนนทดสอบความรู้เพิ่มขึ้นก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่มีระดับ .05
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (4.56)
4. ผลการติดตามผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า 1) หลังจากผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือน ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ปฏิบัติงานสอนได้ผลจริง 2) ความเห็นของที่ประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 12 รูป ได้มีความเห็นสอดคล้องกันว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความสอดคล้องและมีความเหมาะสมทั้งทางด้านระยะเวลา ด้านเนื้อหาสาระ ด้านกิจกรรม ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการประเมินผล และด้านสถานที่ สามารถนำไปใช้เป็นหลักสูตรฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของพระสอนศีลธรรมตามโครงการของกระทรวงศึกษาธิการ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ฝึกอบรมวิธีสอนศีลธรรมกับนักเรียนระดับอื่นได้ และยังมีความคิดเห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมฉบับนี้ หน่วยงานอื่นที่มีโครงการพระสอนศีลธรรมสามารถนำไปใช้ฝึกอบรมพระสอนศีลธรรมได้เช่นเดียวกัน

AN ABSTRACT


       Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the Doctor of Education Degree in Adult Education As Srinakharinwirot University
       February 2011
       Praratratnamongkol (Montri yangthisan). (2010). Training Curriculum Development for Methodology of Teaching Morality in Secondary School by The Monks Under The Project of Ministry of Education.
        Dissertation, Ed.D. (Adult Education), Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.
Advisor Committee: Assoc.Prof.Dr.Saowanee Lewal, Phra Dr. Anil Sakya, Dr.Yupadee Panarach.

The research purposes were :1) to develop a Training Curriculum, 2) to evaluate the Effectiveness of the curriculum, 3) to study suitability and satisfaction of the Training Curriculum, and 4) to follow up the curriculum.
The 4  development stages of the training  curriculum were 1)studying and surveying fundamental data ,2) constructing a training curriculum, 3) evaluating effectiveness of the curriculum, and 4) following up the curriculum.
The sampling groups to study were composed of 1)129 monks  teaching morality at  the secondary schools in Bangkok , academic year of 2552 B.E. to collect general data. 2) 30 monks-volunteers of teaching morality at the secondary schools in Bangkok  to try the curriculum.
  The research tools to study  were Questionnaires to  collect general data,   pre - and - post tests in training, satisfactory estimated Questionnaire  for the trainees , and training curriculum. Statistics to study  were frequency, percentage, mean, standard variation, and t – test. Data were analyzed by a computer program package.
The research results were following as:
1. the estimation result of accord was at the highest suitability (4.56) and for every item  the index of  congruence was more than 0.5.
2.  the post test scores of the trainees were higher than the pre test one at .05 level of significance. It could be concluded that the trainees had more knowledge.
3. the satisfactory of the trainees to the training curriculum was at the highest level (4.56).
4. the follow – up results of the training course were: 1) after 1 month training trainees had  brought the received knowledge into the teaching practice and made it the real result.  2) for focus groups 12 participants who were concerned with the development of  the training curriculum had single idea that the training curriculum was   in accord and suitable for time, matters, activities, medias to teach, estimation, and place. Thus, it was able to be the training curriculum of teaching morality at the secondary school for the monks to teach morality under the Ministry of Education and apply to train how to teach morality to other level of students. In addition to that they had still had idea that other agencies in responsibility of the monks to teach morality could use it to train other monks.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อวิธีการสอนของศูนย์สอนภาษาเกาหลีในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

พระราชรัตนมงคล,ดร. (มนตรี อภิมนฺติโก, ยางธิสาร) ผู้เริ่มโครงการพระสอนศีลธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้: ศึกษาจากทัศนคติของพระสงฆ์ในพื้นที่ ต่อเหตุการณ์ระหว่าง พ.ศ.2547-2550